การคำนวณหามูลค่าหุ้น โดยใช้ค่า P/E ratio ถือเป็นส่วนหนึ่งของการหามูลค่าหุ้นที่เราเรียกว่า Relative Valuation ซึ่งเป็นการอ้างอิงค่าปัจจุบันของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ ซึ่งจะอยู่ในรูปของ อัตราส่วนราคาต่อปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้น ไม่ว่าจะเป็น กำไรต่อหุ้น กระแสเงินสดของธุรกิจ มูลค่าตามบัญชี หรือตามยอดขาย โดยมีสมการทั่วไป ดังต่อไปนี้

ตัวเปรียบเทียบราคา = ราคาตลาดของหุ้นสามัญ / ตัวแปรทางการเงินที่แสดงความสามารถในการดำเนินงาน

ซึ่งตัวแปรทางการเงิน อาจจะเป็น กำไร มูลค่าตามบัญชี ยอดขาย หรือ กระแสเงินสด

แต่ในที่นี้ จะขอยกตัวแปรทางการเงินมาเพียงตัวเดียวที่เป็นที่นิยมสูงสุดสำหรับการซื้อขายหุ้น นั่นคือ กำไรต่อหุ้น หรือ earnings per share นั่นเอง ซึ่งตัวแปรทางการเงินนี้ คือ Price / Earnings ratio หรือ P/E ratio นั่นเอง

ปกติ ในการพิจารณาจะเลือกซื้อหุ้นตัวใดนั้น หากเราใช้ค่า P/E raio ก็จะทำการเปรียบเทียบกับ P/E ratio ของตัวเปรียบเทียบ ที่เราเรียกว่า Benchmark ซึ่งตัวเปรียบเทียบนี้ อาจจะเป็น P/E ratio ของหุ้นสามัญของบริษทที่มีขนาดเดียวกัน หรือลักษณะใกล้เคียงกัน หรือ กลุ่มบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือกลุ่มบริษัททั้งหมดในตลาด โดยที่ หาก P/E ของบริษัทนั้นๆ ต่ำกว่าตัวเปรียบเทียบ แสดงว่าจะมีราคาที่ถูกกว่า หรือ Undervalued ควรซื้อ แต่หาก P/E ของบริษัทนั้นๆ มีค่ามากกว่าตัวเปรียบเทียบ แสดงว่าจะมีราคาที่แพงกว่า หรือ Overvalued ควรขาย

ทั้งนี้ ค่า P/E สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

P/E = Current Market Price / Earnings per share

ค่า P/E อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ตาม Earnings per share ที่ใช้แตกต่างกัน กล่าวคือ (1) Trailing P/E คือ ส่วนของ Earnings per share ที่เป็นข้อมูลในอดีต หรือ (2) Leading P/E คือ ส่วนของ Earnings per share ที่เป็นข้อมูลในอนาคตที่เป็นการคาดการณ์

ในการตัดสินใจซื้อหุ้น โดยใช้ค่า P/E ratio นั้น ไม่ได้ยากอะไร คือเราก็เปรียบเทียบตัวเปรียบเทียบ หากค่า P/E ratio ต่ำกว่า เราก็ซื้อ ถ้าค่า P/E ratio สุงกว่า เราก็ไม่ซื้อ หรือ ขาย เช่น

จากตาราง จะเห็นว่า ค่า P/E ของธนาคาร SCB และ KBANK จะมีค่ามากกว่า ตัวเปรียบเทียบ ซึ่งก็คือ P/E เฉลี่ยของอุตสาหกรรมธนาคาร ซึ่งอยู่ที่ 14.15 ขณะที่ BBL และ KTB มีค่า P/E ต่ำกว่า ดังนั้น หากเราพิจารณาเลือกซื้อหุ้น เราก็จะซื้อ BBL และ KTB เพราะมีค่า P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

นอกจากนี้ ค่า P/E ยังถูกใช้ในการหามูลค่าหุ้นที่เราเรียกว่า Intrinsic Value ได้โดยพิจารณาจากข้อมูลตามตาราง เราสามารถคำนวณหา Intrinsic Value หรือ มูลค่าหุ้นที่แท้จริงตามทฤษฎี โดยการเอา P/E เฉลี่ยของอุตสาหกรรม ไปคูณกับกำไรต่อหุ้นปัจจุบัน หรือ Current EPS จากนั้นเมื่อเราได้ Intrinsic Value แล้ว เราก็ใช้เปรียบเทียบกับมูลค่าตลาด โดย หากมูลค่าหุ้นที่แท้จริง หรือ Intrinsic Value สูงกว่า มูลค่าตลาด แปลว่าหุ้นตัวนั้นถูก (Undervalued) เราก็จะซื้อหุ้นตัวนั้น แต่ถ้าหากมูลค่าที่แท้จริงนั้นต่ำกว่ามูลค่าตลาด แปลว่าหุ้นนั้นแพง (Overvalued) เราก็จะไม่ซื้อ หรือขายหุ้นตัวนั้น ซึ่งจากตาราง เราจะซื้อหุ้น BBL และ KTB ขณะที่เราจะไม่ซื้อหุ้น SCB และ Kbank